วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable)
ข้อดี
·         ราคาถูก
·         มีน้ำหนักเบา
·         ง่ายต่อการใช้งาน
ข้อเสีย
·         มีความเร็วจำกัด
·         ใช้กับระยะทางสั้นๆ

สายโคแอกเชียล (Coaxial)
ข้อดี
·         เชื่อมต่อได้ในระยะไกล
·         ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
·         มีราคาแพง
·         สายมีขนาดใหญ่
·         ติดตั้งยาก

สายใยแก้วนำแสง(Optic Fiber)
ข้อดี
·         มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
·         มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล
·         มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
·         เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
·         มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
·         การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

ข้อดี-ข้อเสีย ของการสื่อสารด้วยดาวเทียม

ข้อดี
การส่งข้อมูลหรือการส่งสัญญาณแบบดาวเทียมจะสามารถรับ-ส่ง ข้อมูลได้เร็ว สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร และสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกล

ข้อเสีย
การส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมก็คือระบบดาวเทียมนั้น คล้ายกับไมโครเวฟ คือ อาจจะ ถูกกระทบโดยสภาพอากาศ ดังนั้น มีการล่าช้าของสัญญาณในการส่งข้อมูลแต่ละช่วง ดังนั้นการเชื่อมโยงข้อมูล จัดการกับปัญหาความล่าช้า สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณ ภาคพื้นอื่น ๆ ได้ อีก ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมา

ข้อดี-ข้อเสียของระบบไมโครเวฟ (Microwave System)

ข้อดี
สัญญาณคลื่นความถี่ประมาณ 100 เมกะเฮิรตซ์ เดินทางเป็นเส้นตรง ทำให้สามารถปรับทิศทางการส่งได้แน่นอน การบีบสัญญาณส่งให้เป็นลำแคบ ๆ จะทำให้มีพลังงานสูง สัญญาณรบกวนต่ำ การปรับจานรับและจานส่งสัญญาณให้ตรงกันพอดี จะทำให้สามารถส่งสัญญาณได้หลายความถี่ไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยไม่รบกวนกัน

ข้อเสีย
คลื่นไมโครเวฟไม่สามารถเดินผ่านวัตถุที่กีดขวางได้ สัญญาณอาจเกิดการหักเหในระหว่างเดินทางทำให้มาถึงจาน
รับสัญญาณช้ากว่าปกติและสัญญาณบางส่วนอาจสูญหายได้ เรียกว่าเกิด
“multipath fading”

PAN และ SAN คืออะไร จงอธิบาย
PAN (Personal Area Network)  คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลาย
SAN = (Storage Area Network) เป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรงอย่าง Direct Attached Storage (DAS) ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง เช่น ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล หรือ พื้นที่จัดเก็บ ให้เกิดความยืดหยุ่นในการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากกว่า โดยมีพื้นฐานมาจากมาตรฐานเปิดเน็ตเวิร์กโปรโตคอล
ปัจจุบันการต่อเชื่อมของ SAN จะมี 2 รูปแบบ หรือ 2 Protocol คือ Fibre Channel Protocol และ iSCSI
- FC  จะเป็นการต่อเชื่อมโดยใช้สายไฟเบอร์ในการเชื่อมต่อและจะต้องมี SAN Switch โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 4Gbps และ 8Gbps รวมถึงต้องมี interface card ที่เรียกว่า Host Bus Adapter (HBA)
- iSCSI จะเชื่อมต่อโดยใช้สาย LAN (RJ45) สามารถใช้ Network Switch เดิมที่มีอยู่ได้เลย ความเร็วขึ้นอยู่กับ network ที่ใช้ว่าเป็น 1Gbps หรือ 10Gbps โดยสามารถใช้ LAN Card เดิมที่มีอยู่ก็สามารถใช้งานได้ โดยจะต้องลง software iSCSI initiator (จะใช้ความสามารถของ CPU และ memory ของ server ในการประมวลผล)

บทที่ 3 ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง

ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักๆดังนี้
1.               ข้อมูล คือ ทรัพยากรสำคัญซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น ข้อมูลทั่วไป, ข้อความ, ภาพ, เสียง, Tactile data และข้อมูลจากเครื่องรับรู้
2.                   การจัดเก็บ คือ ขั้นตอน หรือ วิธีการรักษาไว้ซึ่งข้อมูล
3.                   เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล คืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูล เช่น computer
4.                   การประมวลผล
5.                   สารสนเทศ คือ ผลผลิตของระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยความถูกต้อง ตรงประเด็น ทันสมัย สมบูรณ์ กะทัดรัด
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยแรงงานคน และเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ เนื่องจากปัจจุบันลักษณะการทำงานและชีวิตประจำวันได้ถูกพัฒนาให้มีการใช้หรือบริโภคข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ มีความสำคัญมากขึ้น เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำในการประมวลผล  แต่เนื่องจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันไม่สามารถใช้เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากเป็นการประมวลผลด้วยข้อมูลจำนวนน้อยๆ ง่ายๆ
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธี หรือ 3ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล         
ขั้นตอนประมวลผล     
ขั้นตอนแสดงผลลัพธ์
-         การลงรหัส
-         การตรวจสอบ
-         การจำแนก
-         การบันทึกข้อมูลลงสื่อ 
-         การคำนวณ
-         การเรียงลำดับข้อมูล
-         การสรุป
-         การเปรียบเทียบ

-         รูปแบบเอกสาร
-         การนำเสนอบนจอภาพ
-         ฯลฯ

ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนจะทำงานสอดคล้องกัน เช่น การพิมพ์ข้อมูลลงบนคอมพิวเตอร์ การกดปุ่มบนแป้นพิมพ์จะอยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูล ระบบรับข้อมูลที่ถูกพิมพ์ลงไปแจกแจงลักษณะแล้วบันทึกลงหน่วยความจำชั่วคราว หลังจากนั้นหน่วยประมวลผลจะทำการนำข้อมูลประมวลผลไปเปรียบเทียบข้อมูลหลัก เช่น แบบอักษร สี ขนาดแล้วส่งต่อมายังหน้าจอภาพเพื่อเป็นการแสดงผลลัพธ์
หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์
Bit หรือ บิท เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นวงจรเปิดและปิด จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับเลขฐาน 2 เช่นถ้าใช้ 2 บิท จะสื่อได้คือ 00,01,10,11
จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่
จากการมองของผู้ใช้ข้อมูลจะสามารถเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ได้ดังนี้
1.               ตัวอักขระ(Character)  เช่น ตัวอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์
2.               เขตข้อมูล(Field) หรือ รายการ(Item) คือ การนำอักขระมาเรียงกันจนมีความหมาย เช่น คำ, ชื่อ, นามสกุล
3.               ระเบียน(Record) คือกลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน 
4.               แฟ้มข้อมูล(File) คือ  การนำเรคคอร์ดชนิดเดียวกันมารวมไว้ด้วยกัน  เช่นแฟ้มข้อมูลสินค้าในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น
-         แฟ้มข้อมูลหลัก(Master  file)  คือ  แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลถาวร  โดยปกติมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
-         แฟ้มรายการ(Transaction  file)  คือ  แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลัก  เก็บเป็นรายย่อยๆ

บทที่ 2 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

           อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่
1.               แป้นพิมพ์(Keyboard)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร
2.               เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
3.               แทร็กบอล(Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่  แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน
4.               จอยสติก  (Joy Stick)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง  ซ้ายขวา  เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้ 
5.               เครื่องอ่านบาร์โค๊ต  (Bar Code Reader)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code)ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลข
6.               สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล  โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ  เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล  แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป 
7.               เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง  (Optical Character Reader:  OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค  ตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ
8.               เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์ 
9.               ปากกาแสง (Light Pen)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ  มักใช้ในงานออกแบบ 
10.         จอสัมผัส  (Touch Screens)  เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ  เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM
11.         กล้องถ่ายภาพดิจิตอล  (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ  ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
12.         ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง  เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้


อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง    
หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล  ได้แก่
1.             เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน  ลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียง
2.             จานแม่เหล็ก (Magnetic  Disk)  เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD: Direct Access Storage Device)การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็ก  แต่การเข้าถึงเนื้อที่เก็บข้อมูลนั้นๆ อาศัยตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยระบบปฏิบัติการ
3.             จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette) เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar) ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์  เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียว  และห่อหุ้มด้วยพลาสติก
4.             ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ  เรียกว่า  แพลตเตอร์ (Platters)  และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์ถูกออกแบบให้เป็นชุดเดียวกันกับส่วนเก็บข้อมูล
5.             ซีดีรอม  (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล  โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์  เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลง  การบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิต  ข้อมูลบน CD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย
6.             ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable) เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า CD-R Drive โดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์  ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผล  ลงบน CD-R ได้  รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย
7.             วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD) เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว  แต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้  ความจุตั้งแต่ 600 MB  ถึง 3 GB ขึ้นไป  ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน 
8.             เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical  Disk) เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกัน  ทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไป  ขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว  แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย
9.             ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล  แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GB  ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600 KB ต่อวินาที  เครื่องอ่านดีวีดีสามารถใช้กับซีดีรอมได้ด้วย 

อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
อุปกรณ์แสดงผล  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ
1.               จอภาพ  (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น 
2.               เครื่องพิมพ์ (Printer)  เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ สามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้    2 ประเภท คือ  1. เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ  2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ 
3.               เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์  โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม  ทางสถาปัตยกรรม  ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่  มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบเคด หรือพิมพ์เขียว
4.               เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ลำโพง   เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ที่เกิดจากการ์ดเสียง   หน้าที่หลักคือ เมื่อการ์ดเสียงเปลี่ยนสัญญาณเสียงดิจิตอลให้เป็นกระแสไฟฟ้า  ผ่านมายังลำโพงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กและเกิดการสั่นสะเทือนของลำโพง  มีผลทำให้เกิดเสียงในระดับต่างๆ

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่าง

เทคโนโลยี
หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบ แล้วมาประยุกต์ใช้ด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น การนำเอาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เข้ามาใช้ในองค์กร ทำให้ไม่ต้องใช้พนักงานเดินเอกสารเพื่อส่งข่าวสาร เป็นต้น

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ เช่น สารสนเทศที่เป็นความรู้ที่เกิดจากข่าวสารรอบตัวซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ยกตัวอย่างเช่น การฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การ Print การ Copy ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีหลายชุด โดยใช้อุปกรณ์ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นCD ฮาร์ดดิส เป็นต้น
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฎการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น คะแนนสอบ ชื่อนักศึกษา เพศ อายุ เป็นต้น
ฐานความรู้ คือ สารสนเทศที่จัดเป็นโครงสร้าง ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่ยุค"เศรษฐกิจฐานความรู้" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่า ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่า การพัฒนาความรู้ใหม่ๆเพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความเข้มแข็งเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ


2.โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง


โครงสร้างสารสนเทศ ประกอบด้วย


1.ระดับล่างสุด    เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่า ระบบการประมวลผลรายการ เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์การ เช่น การทำบัญชี การจองตั๋ว เป็นต้น
2.ระดับที่สอง     เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวกับการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพสินค้า ที่ได้จากกระบวนการผลิต
3.ระดับที่สาม     เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ เช่น สารสนเทศที่เป็นรายงานสรุปยอดรวมของการขายสินค้าในแต่ละภาค เป็นต้น
4.ระดับที่สี่          เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์ เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า สภาวะการตลาด ความสามารถของคู่แข่งขัน เป็นต้น


3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง


วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย


1.ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น การทำบัญชี การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์งานของผู้บริหาร เช่น รายงานยอดขาย รายงานรายได้รายจ่ายขององค์กรหรือธุรกิจ เป็นต้น
3.ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ
4.ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ  ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

"เกาะลังกาวี" (Langkawi)

"เกาะลังกาวี" (Langkawi) ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย อยู่ในรัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ตรงข้ามกับเกาะตะรุเตา ใกล้กับชายแดนไทย อยู่ห่างจากเมืองกัวลาเปอร์ลิส ประมาณ 30 กิโลเมตร และเมืองกัวลาเคดะห์ 51 กิโลเมตร แต่เดิมเกาะลังกาวีเคยเป็นดินแดนของเมืองไทรบุรีที่ตั้งโดยชาวไทยที่เป็นสยามอิสลาม อยู่กับอาณาจักรสยามมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัชกาลที่ 5 และได้เสียดินแดนส่วนนี้ให้กับประเทศอังกฤษในที่สุด


พระนางเลือดขาว หรือ พระนางมัสสุหรี




สำหรับเรื่องราวของ พระนางเลือดขาว หรือพระนางมัสสุหรี เป็นหญิงสาวชาวภูเก็ตที่อนุชาองค์สุลต่านแห่งลังกาวี ทรงเลือกเป็นคู่ครอง เนื่องจากพระนางเป็นหญิงสาวที่มีความเพียบพร้อม ทั้งงานบ้านงานเรือนและความสวยงาม ทั้งๆ ที่ทางราชวงศ์ได้คัดเลือกหญิงสาวชาวลังกาวีหลายคนให้พระอนุชาเลือก แต่ก็ไม่ถูกใจ กลับมาถูกใจสาวไทยชาวภูเก็ต

พระนางมัสสุหรี มาอยู่กับพระอนุชาของสุลต่านในฐานะพระชายาองค์รอง แต่ด้วยเหตุที่พระชายาองค์ใหญ่ ซึ่งมีฐานะเป็นปะไหมสุหรี มีบุตรเป็นหญิง ส่วนพระนางมัสสุหรี มีบุตรเป็นชายชื่อ "วันฮาเกม" ตามกฎของสำนักพระชายาที่มีบุตรเป็นชายจะได้รับตำแหน่งปะไหมสุหรี ทำให้ชาวลังกาวีที่เป็นพระญาติของปะไหมสุหรีองค์เดิมเก็บความอิจฉาไว้ลึกๆ

หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้เกิดสงคราม มีเหตุให้พระอนุชาขององค์สุลต่าน ซึ่งเป็นพระสวามีของพระนางมัสสุหรี ต้องเดินทางออกรบกับกองทัพไทยที่บุกมาโจมตี ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ที่ปองร้ายคิดร้าย ต่างหาเรื่องสร้างสถานการณ์ว่า พระนางมัสสุหรีแอบคบชู้ ทำให้องค์สุลต่านตัดสินประหารชีวิตพระนางมัสสุหรีด้วยกริช โดยที่สวามีของนางไม่อาจกลับมาช่วยเหลือได้ทัน

ซึ่งก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระนางมัสสุหรีได้อธิษฐานว่า "หากนางไม่มีความผิด ขอให้โลหิตที่หลั่งออกมาเป็นสีขาวเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนาง และขอให้เกาะลังกาวีไร้ความเจริญไป 7 ชั่วคน" แต่เมื่อเพชฌฆาตลงคมกริชประหาร คมกริซนั้นกลับไม่ระคายผิวนางเลย เมื่อเป็นเช่นนี้พระนางมัสสุหรีจึงบอกกับเพชฌฆาตให้กลับไปนำกริชพิเศษของต้นตระกูลจากบ้านของนางมา และเมื่อคมกริชจรดลงไปบนคอของนาง โลหิตสีขาวก็พวยพุ่งขึ้นข้างบนราวกับเป็นร่มโดยไม่ตกลงบนพื้นดินเลย องค์สุลต่านเองก็ช่วยชีวิตพระนางไม่ได้ เพราะพระนางมัสสุหรีเสียเลือดมากแล้วด้านพี่ชายของพระนางมัสสุหรีเกรงว่าหลานชายวัย 5 เดือน ทายาทคนเดียวของพระนางมัสสุหรีจะมีภัย จึงนำลงเรือล่องมายังเกาะภูเก็ต และเริ่มตั้งรกรากที่นี่ โดยโอรสของพระนางมัสสุหรีเติบโตขึ้นมีนามว่า "โต๊ะวัน" นับเป็นทายาทรุ่นที่ 1

สำหรับสุสานของนางมาซูรีนั้น มีสุสานที่สร้างด้วยหินอ่อน และคำจารึกภาษามาเลเซียและภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดสร้างทำขึ้นภายหลัง มีข้อความว่า . . .

MAHSURI BINTI PANDAK MAYAH
MAHSURI A VICTIM OF TREACHERY AND JEALOUSY WAS SENTENCED TO DEATH IN 1235 HIJRAH OR 1819 A.D. AS SHE DIED SHE LAID A CURSE ON THE ISLAND "THERE SHALL BE NO PEACE AND PROSPERITY ON THIS ISLAND FOR A PEROID OF SEVEN GENERATIONS''


แปลความได้ว่า . . .

มัสสุหรีผู้รับเคราะห์กรรมจากการทรยศหักหลัง และความอิจฉาริษยาจนถูกตัดสินให้นางถึงแก่ความตายลง เมื่อศักราช (อิสลาม) 1235 หรือ คริสต์ศักราช 1819 (พ.ศ. 2362) นางสิ้นชีวิตลงพร้อมกับคำสาปแช่งที่แห่งนี้ว่า ''จะไม่เกิดสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองบนเกาะแห่งนี้ เป็นเวลา 7 ชั่วอายุคน''


ศิรินทรา ยายี




และนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา "เกาะลังกาวี" ก็เงียบเหงา ผู้คนอยู่กันอย่างไม่มีความสุข เพราะมนตราแห่งการสาปแช่งของพระนางมัสสุหรี มาตั้งแต่ พ.ศ.2362 เป็นเวลา 181 ปี ตกอยู่ในอำนาจของคำสาปที่มืดดำเฉกเช่นชายหาดที่มีสีดำ นัยว่าเกาะแห่งนี้ถูกอำนาจแห่งความบริสุทธิ์นั้นสาปแช่งให้จมอยู่กับความตกต่ำ เป็นอาถรรพ์ครอบคลุมมาถึง 7 ชั่วอายุคน อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เกาะลังกาวีกำลังจะผ่านพ้นช่วงแห่งความมืดมิด เพราะได้ผ่านพ้นมาแล้ว 6 ชั่วอายุคน และก้าวเข้าสู่คนรุ่นที่ 7 ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นผู้มาแก้คำสาป เพื่อทำให้เกาะลังกาวีหลุดพ้นจากอำนาจลึกลับ

ทั้งนี้หนังสือพิมพ์หลายๆ สำนักของมาเลเซีย และรัฐบาลมาเลเซีย ต่างพากันออกตามหาผู้สืบทอดเชื้อสายของพระนางมัสสุหรี จนมาพบว่าทายาทรุ่นที่ 7 ได้อาศัยอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทยซึ่งก็คือ นางสาวศิรินทรา ยายี มีหลักฐานมากมายที่แสดงถึงความเป็นทายาทผู้ถอนคำสาป ไม่ว่าจะเป็นกริซประจำตระกูล รูปภาพ และบรรพบุรุษชื่อ "วันฮาเกม" ทางรัฐบาลจึงเชิญพระนางทายาทรุ่นที่ 7 กลับสู่เกาะลังกาวี เพื่อถอนคำสาป จากเด็กผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตตามปกติ แต่เมื่อเธอได้ไปยืนอยู่บนแผ่นดินเกาะลังกาวี เธอกลับกลายเป็นเจ้าหญิงน้อยๆ ไปในทันที

"ศิรินทรา ยายี" หรือ "เมย์" เกิดเมื่อวันที่ 8 เดือน 8 (สิงหาคม) พ.ศ. 2528 ที่โรงพยาบาลวชิระ จังหวัดภูเก็ต (น่าแปลกที่วันนั้นไม่มีเด็กคนไหนถือกำเนิดเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับเธอเลย แถมท้องฟ้าที่ใสกระจ่างกลับมืดดำ และฝนก็เทกระหน่ำลงมานานถึง 1 เดือน) ศิรินทรา ยายี เป็นบุตรสาวของนายสุวรรณ ยายี และนางสุนี ยายี มีน้องชาย 1 คน ปัจจุบัน ศิรินทรา ยายี กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 2 ของคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะมีความใฝ่ฝันว่าอยากเป็นแอร์โฮสเตส หลังจากที่ก่อนหน้านี้เธอเคยได้ทุนของเอกชนในประเทศมาเลเซีย ให้ศึกษาในมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ มาเลเซีย อยู่ 2 ปี แต่มีปัญหาเรื่องทุนจึงต้องกลับมาเรียนต่อในไทย


ศิรินทรา ยายี


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทางประเทศมาเลเซียจะเสนอให้ครอบครัวเธอย้ายไปอยู่ที่นั่น โดยจะมอบบ้าน รถ ที่ดิน และสิทธิในการเป็นเจ้าของเกาะให้ด้วย แต่ศิรินทรา ยายี เลือกที่จะอยู่ต่อที่ประเทศไทย เพราะเธอรักประเทศไทย


ศิรินทรา ยายี




"หนูรู้สึกภูมิใจในการที่ได้เกิดเป็นทายาทรุ่นที่ 7 เพราะคุณทวดหนูเป็นคนดี และหนูคงเอาความดีของคุณทวดมาเป็นแบบอย่าง" ศิรินทรา กล่าว

อย่างไรก็ตาม หลังการไปเยือนเกาะลังการวีของ ศิรินทรา ยายี เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว ทำให้เกาะต้องมนต์แห่งนี้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว เพราะรัฐบาลมาเลเซียได้ใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นคืนชีพเกาะลังกาวี ในความเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ทางประวัติศาสตร์