วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 3 ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง

ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักๆดังนี้
1.               ข้อมูล คือ ทรัพยากรสำคัญซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น ข้อมูลทั่วไป, ข้อความ, ภาพ, เสียง, Tactile data และข้อมูลจากเครื่องรับรู้
2.                   การจัดเก็บ คือ ขั้นตอน หรือ วิธีการรักษาไว้ซึ่งข้อมูล
3.                   เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล คืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูล เช่น computer
4.                   การประมวลผล
5.                   สารสนเทศ คือ ผลผลิตของระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยความถูกต้อง ตรงประเด็น ทันสมัย สมบูรณ์ กะทัดรัด
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยแรงงานคน และเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ เนื่องจากปัจจุบันลักษณะการทำงานและชีวิตประจำวันได้ถูกพัฒนาให้มีการใช้หรือบริโภคข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ มีความสำคัญมากขึ้น เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำในการประมวลผล  แต่เนื่องจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันไม่สามารถใช้เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากเป็นการประมวลผลด้วยข้อมูลจำนวนน้อยๆ ง่ายๆ
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธี หรือ 3ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล         
ขั้นตอนประมวลผล     
ขั้นตอนแสดงผลลัพธ์
-         การลงรหัส
-         การตรวจสอบ
-         การจำแนก
-         การบันทึกข้อมูลลงสื่อ 
-         การคำนวณ
-         การเรียงลำดับข้อมูล
-         การสรุป
-         การเปรียบเทียบ

-         รูปแบบเอกสาร
-         การนำเสนอบนจอภาพ
-         ฯลฯ

ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนจะทำงานสอดคล้องกัน เช่น การพิมพ์ข้อมูลลงบนคอมพิวเตอร์ การกดปุ่มบนแป้นพิมพ์จะอยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูล ระบบรับข้อมูลที่ถูกพิมพ์ลงไปแจกแจงลักษณะแล้วบันทึกลงหน่วยความจำชั่วคราว หลังจากนั้นหน่วยประมวลผลจะทำการนำข้อมูลประมวลผลไปเปรียบเทียบข้อมูลหลัก เช่น แบบอักษร สี ขนาดแล้วส่งต่อมายังหน้าจอภาพเพื่อเป็นการแสดงผลลัพธ์
หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์
Bit หรือ บิท เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นวงจรเปิดและปิด จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับเลขฐาน 2 เช่นถ้าใช้ 2 บิท จะสื่อได้คือ 00,01,10,11
จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่
จากการมองของผู้ใช้ข้อมูลจะสามารถเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ได้ดังนี้
1.               ตัวอักขระ(Character)  เช่น ตัวอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์
2.               เขตข้อมูล(Field) หรือ รายการ(Item) คือ การนำอักขระมาเรียงกันจนมีความหมาย เช่น คำ, ชื่อ, นามสกุล
3.               ระเบียน(Record) คือกลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน 
4.               แฟ้มข้อมูล(File) คือ  การนำเรคคอร์ดชนิดเดียวกันมารวมไว้ด้วยกัน  เช่นแฟ้มข้อมูลสินค้าในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น
-         แฟ้มข้อมูลหลัก(Master  file)  คือ  แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลถาวร  โดยปกติมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
-         แฟ้มรายการ(Transaction  file)  คือ  แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลัก  เก็บเป็นรายย่อยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"เกาะลังกาวี" (Langkawi)

"เกาะลังกาวี" (Langkawi) ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย อยู่ในรัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ตรงข้ามกับเกาะตะรุเตา ใกล้กับชายแดนไทย อยู่ห่างจากเมืองกัวลาเปอร์ลิส ประมาณ 30 กิโลเมตร และเมืองกัวลาเคดะห์ 51 กิโลเมตร แต่เดิมเกาะลังกาวีเคยเป็นดินแดนของเมืองไทรบุรีที่ตั้งโดยชาวไทยที่เป็นสยามอิสลาม อยู่กับอาณาจักรสยามมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัชกาลที่ 5 และได้เสียดินแดนส่วนนี้ให้กับประเทศอังกฤษในที่สุด


พระนางเลือดขาว หรือ พระนางมัสสุหรี




สำหรับเรื่องราวของ พระนางเลือดขาว หรือพระนางมัสสุหรี เป็นหญิงสาวชาวภูเก็ตที่อนุชาองค์สุลต่านแห่งลังกาวี ทรงเลือกเป็นคู่ครอง เนื่องจากพระนางเป็นหญิงสาวที่มีความเพียบพร้อม ทั้งงานบ้านงานเรือนและความสวยงาม ทั้งๆ ที่ทางราชวงศ์ได้คัดเลือกหญิงสาวชาวลังกาวีหลายคนให้พระอนุชาเลือก แต่ก็ไม่ถูกใจ กลับมาถูกใจสาวไทยชาวภูเก็ต

พระนางมัสสุหรี มาอยู่กับพระอนุชาของสุลต่านในฐานะพระชายาองค์รอง แต่ด้วยเหตุที่พระชายาองค์ใหญ่ ซึ่งมีฐานะเป็นปะไหมสุหรี มีบุตรเป็นหญิง ส่วนพระนางมัสสุหรี มีบุตรเป็นชายชื่อ "วันฮาเกม" ตามกฎของสำนักพระชายาที่มีบุตรเป็นชายจะได้รับตำแหน่งปะไหมสุหรี ทำให้ชาวลังกาวีที่เป็นพระญาติของปะไหมสุหรีองค์เดิมเก็บความอิจฉาไว้ลึกๆ

หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้เกิดสงคราม มีเหตุให้พระอนุชาขององค์สุลต่าน ซึ่งเป็นพระสวามีของพระนางมัสสุหรี ต้องเดินทางออกรบกับกองทัพไทยที่บุกมาโจมตี ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ที่ปองร้ายคิดร้าย ต่างหาเรื่องสร้างสถานการณ์ว่า พระนางมัสสุหรีแอบคบชู้ ทำให้องค์สุลต่านตัดสินประหารชีวิตพระนางมัสสุหรีด้วยกริช โดยที่สวามีของนางไม่อาจกลับมาช่วยเหลือได้ทัน

ซึ่งก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระนางมัสสุหรีได้อธิษฐานว่า "หากนางไม่มีความผิด ขอให้โลหิตที่หลั่งออกมาเป็นสีขาวเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนาง และขอให้เกาะลังกาวีไร้ความเจริญไป 7 ชั่วคน" แต่เมื่อเพชฌฆาตลงคมกริชประหาร คมกริซนั้นกลับไม่ระคายผิวนางเลย เมื่อเป็นเช่นนี้พระนางมัสสุหรีจึงบอกกับเพชฌฆาตให้กลับไปนำกริชพิเศษของต้นตระกูลจากบ้านของนางมา และเมื่อคมกริชจรดลงไปบนคอของนาง โลหิตสีขาวก็พวยพุ่งขึ้นข้างบนราวกับเป็นร่มโดยไม่ตกลงบนพื้นดินเลย องค์สุลต่านเองก็ช่วยชีวิตพระนางไม่ได้ เพราะพระนางมัสสุหรีเสียเลือดมากแล้วด้านพี่ชายของพระนางมัสสุหรีเกรงว่าหลานชายวัย 5 เดือน ทายาทคนเดียวของพระนางมัสสุหรีจะมีภัย จึงนำลงเรือล่องมายังเกาะภูเก็ต และเริ่มตั้งรกรากที่นี่ โดยโอรสของพระนางมัสสุหรีเติบโตขึ้นมีนามว่า "โต๊ะวัน" นับเป็นทายาทรุ่นที่ 1

สำหรับสุสานของนางมาซูรีนั้น มีสุสานที่สร้างด้วยหินอ่อน และคำจารึกภาษามาเลเซียและภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดสร้างทำขึ้นภายหลัง มีข้อความว่า . . .

MAHSURI BINTI PANDAK MAYAH
MAHSURI A VICTIM OF TREACHERY AND JEALOUSY WAS SENTENCED TO DEATH IN 1235 HIJRAH OR 1819 A.D. AS SHE DIED SHE LAID A CURSE ON THE ISLAND "THERE SHALL BE NO PEACE AND PROSPERITY ON THIS ISLAND FOR A PEROID OF SEVEN GENERATIONS''


แปลความได้ว่า . . .

มัสสุหรีผู้รับเคราะห์กรรมจากการทรยศหักหลัง และความอิจฉาริษยาจนถูกตัดสินให้นางถึงแก่ความตายลง เมื่อศักราช (อิสลาม) 1235 หรือ คริสต์ศักราช 1819 (พ.ศ. 2362) นางสิ้นชีวิตลงพร้อมกับคำสาปแช่งที่แห่งนี้ว่า ''จะไม่เกิดสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองบนเกาะแห่งนี้ เป็นเวลา 7 ชั่วอายุคน''


ศิรินทรา ยายี




และนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา "เกาะลังกาวี" ก็เงียบเหงา ผู้คนอยู่กันอย่างไม่มีความสุข เพราะมนตราแห่งการสาปแช่งของพระนางมัสสุหรี มาตั้งแต่ พ.ศ.2362 เป็นเวลา 181 ปี ตกอยู่ในอำนาจของคำสาปที่มืดดำเฉกเช่นชายหาดที่มีสีดำ นัยว่าเกาะแห่งนี้ถูกอำนาจแห่งความบริสุทธิ์นั้นสาปแช่งให้จมอยู่กับความตกต่ำ เป็นอาถรรพ์ครอบคลุมมาถึง 7 ชั่วอายุคน อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เกาะลังกาวีกำลังจะผ่านพ้นช่วงแห่งความมืดมิด เพราะได้ผ่านพ้นมาแล้ว 6 ชั่วอายุคน และก้าวเข้าสู่คนรุ่นที่ 7 ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นผู้มาแก้คำสาป เพื่อทำให้เกาะลังกาวีหลุดพ้นจากอำนาจลึกลับ

ทั้งนี้หนังสือพิมพ์หลายๆ สำนักของมาเลเซีย และรัฐบาลมาเลเซีย ต่างพากันออกตามหาผู้สืบทอดเชื้อสายของพระนางมัสสุหรี จนมาพบว่าทายาทรุ่นที่ 7 ได้อาศัยอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทยซึ่งก็คือ นางสาวศิรินทรา ยายี มีหลักฐานมากมายที่แสดงถึงความเป็นทายาทผู้ถอนคำสาป ไม่ว่าจะเป็นกริซประจำตระกูล รูปภาพ และบรรพบุรุษชื่อ "วันฮาเกม" ทางรัฐบาลจึงเชิญพระนางทายาทรุ่นที่ 7 กลับสู่เกาะลังกาวี เพื่อถอนคำสาป จากเด็กผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตตามปกติ แต่เมื่อเธอได้ไปยืนอยู่บนแผ่นดินเกาะลังกาวี เธอกลับกลายเป็นเจ้าหญิงน้อยๆ ไปในทันที

"ศิรินทรา ยายี" หรือ "เมย์" เกิดเมื่อวันที่ 8 เดือน 8 (สิงหาคม) พ.ศ. 2528 ที่โรงพยาบาลวชิระ จังหวัดภูเก็ต (น่าแปลกที่วันนั้นไม่มีเด็กคนไหนถือกำเนิดเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับเธอเลย แถมท้องฟ้าที่ใสกระจ่างกลับมืดดำ และฝนก็เทกระหน่ำลงมานานถึง 1 เดือน) ศิรินทรา ยายี เป็นบุตรสาวของนายสุวรรณ ยายี และนางสุนี ยายี มีน้องชาย 1 คน ปัจจุบัน ศิรินทรา ยายี กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 2 ของคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะมีความใฝ่ฝันว่าอยากเป็นแอร์โฮสเตส หลังจากที่ก่อนหน้านี้เธอเคยได้ทุนของเอกชนในประเทศมาเลเซีย ให้ศึกษาในมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ มาเลเซีย อยู่ 2 ปี แต่มีปัญหาเรื่องทุนจึงต้องกลับมาเรียนต่อในไทย


ศิรินทรา ยายี


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทางประเทศมาเลเซียจะเสนอให้ครอบครัวเธอย้ายไปอยู่ที่นั่น โดยจะมอบบ้าน รถ ที่ดิน และสิทธิในการเป็นเจ้าของเกาะให้ด้วย แต่ศิรินทรา ยายี เลือกที่จะอยู่ต่อที่ประเทศไทย เพราะเธอรักประเทศไทย


ศิรินทรา ยายี




"หนูรู้สึกภูมิใจในการที่ได้เกิดเป็นทายาทรุ่นที่ 7 เพราะคุณทวดหนูเป็นคนดี และหนูคงเอาความดีของคุณทวดมาเป็นแบบอย่าง" ศิรินทรา กล่าว

อย่างไรก็ตาม หลังการไปเยือนเกาะลังการวีของ ศิรินทรา ยายี เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว ทำให้เกาะต้องมนต์แห่งนี้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว เพราะรัฐบาลมาเลเซียได้ใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นคืนชีพเกาะลังกาวี ในความเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ทางประวัติศาสตร์